1. A CLOUD COMPUTING FRAMEWORK FOR COMPUTER SCIENCE EDUCATION (กรอบเมฆ Computing สำหรับวิทยาการคอมพิวเตอร์ศึกษา)
2. DETECTING SPAM IN MICROBLOGS (การตรวจจับสแปมใน Microblogs)
3. RESONANT POWER MOSFET DRIVERS FOR LED LIGHTING
(เพาเวอร์ไดร์เวอร์มอสเฟต Resonant สำหรับโคมไฟ LED)
Research Methodology
วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555
วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
Topic# 3 Concept Constructivism
ความหมายของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ให้ความสำคัญกับตัวผู้เรียน หรือ นักเรียนมากกว่า ครู
หรือ ผู้สอน ผู้เรียนจะเป็นผู้ที่มีปฏิสัมพันธ์ (interact) กับ
วัตถุ (object) หรือเหตุการณ์ ด้วยตัวของเขาเอง ซึ่งจะทำให้ เกิด
ความเข้าใจในวัตถุหรือ เหตุการณ์นั้น ซึ่งก็คือ การสร้าง (construct) การทำความเข้าใจ (conceptualization) และ
การแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยตัวของเขาเอง ได้มีผู้ให้
ทัศนะเกี่ยวกับทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ไว้ ดังนี้
คอนสตรัคติวิสต์ (Constructivism) เป็นปรัชญาของการเรียนรู้ที่มีรากฐานมาจากปรัชญาและจิตวิทยา โดยมีแก่นของทฤษฎี ก็คือ เน้นการสร้างความรู้ด้วยตนเองและอย่างมีความหมายจากประสบการณ์ บุคคลสำคัญ
ในการพัฒนาทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ได้แก่
John
Dewey Jean piaget Lev Vygotsky Jerome Bruner
ในมุมของ Constructivist การเรียนรู้
(Learning)
หมายถึง กระบวนการที่ผู้เรียนสร้างความรู้ขึ้นภายในอย่างมีความหมายโดยการตีความหมาย (interpretation) แตกต่างกันตามประสบการณ์ของแต่ละคนมีอยู่ เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โครงสร้างความรู้ (knowledge
Structure) ปรับแก้ (modification) ได้ตลอด ความรู้
(knowledge)
เกิดได้จากการแปลความหมายของความเป็นจริงในโลก และเข้าไป
representation
ภายใน (Bednar,Cunnigham, Dufft,Pertt, 1995)
Von glasersfeld (1987) ได้กล่าวถึง
คอนสตรัคติวิสต์ (Constructivism) เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้ (theory of knowledge) โดยมีมุมมองว่าเกี่ยวข้องกับหลักการ
2
ประการ ได้แก่
1. ความรู้ (knowledge) เป็นการกระทำอย่างกระตือรือร้นโดยผู้เรียนไม่ใช่การที่ผู้เรียนจะต้องมาเป็นฝ่ายรับอย่างเดียวจากสิ่งแวดล้อม (Environment)
2.
การรู้จัก (know) เป็นกระบวนการปรับตัว (adaptation) ที่ต้องมีการปรับแก้
(modify) อยู่ตลอดเวลาโดยประสบการณ์ของผู้เรียนเองจากโลก (world) ความเป็นจริงfosnot (1996) กล่าวว่า
คอนสตรัคติวิสต์ เน้นทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้ (knowledge) และการเรียนรู้(Learning)
ที่อธิบายเกี่ยวกับการรับรู้ (knowing ) และคนรู้ได้อย่างไร Nick
Selly (กรมวิชาการ,2545 อ้างจาก nick Selly) ได้เขียนเกี่ยวกับทฤษฎีสรรค์สร้างนิยม (Constructivism) ว่าเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนทุกคนสร้างความรู้จากความคิดของตนเอง แทนที่จะรับความรู้ที่สมบูรณ์และถูกต้องจากครูหรือแหล่งความรู้ที่ครูกำหนดไว้ การสร้างความรู้เช่นนี้ เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในบุคคลโดยไม่รู้ตัว
ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยการนำความรู้หลายด้านมาตีความหมายใหม่ ความรู้บางเรื่องอาจได้มาจากประสบการณ์ตรงของตนเองและบางเรื่องได้มาจากการแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นแล้วจึงสร้างภาพที่สมบูรณ์และสอดคล้องกับของโลกโดยรวมขึ้นมา “โลก”
อาจหมายรวมถึงธรรมชาติด้านกายภาพ หรือวัตถุ
และด้านจิตใจ คือด้านสังคมอารมณ์ และปรัชญาต่าง
ๆ
ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่าทฤษฎีการเรียนรู้คอนสตรัคติวิสต์ (Constructivism) เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่เชื่อว่าความรู้ (knowlodge) และการเรียนรู้ (Learning)
จะเกิดขึ้นได้ด้วยตนเองเป็นคนสร้างขึ้นมาด้วยการ ตีความหมาย
(interprete) ของสิ่งที่อยู่ในโลกความเป็นจริง (real world) ทั้งที่เป็นวัตถุ
(object) หรือเหตุการณ์ (event) ที่อยู่บนฐานประสบการณ์และความรู้ ที่แต่ละบุคคลมีมาก่อนเข้าไปสร้างความหมาย (representation) ภายในจิตใจ
2. ครูควรสร้างบรรยากาศทางสังคมจริยธรรม (sociomoral) ให้เกิดขึ้นเนื่องจากปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเป็นปัจจัยสำคัญของการสร้างความรู้ การร่วมมือการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดและประสบการณ์ระหว่างผู้เรียนและบุคคลอื่นจะช่วยให้การเรียนรู้ของผู้เรียนกว้างขวางขึ้น
3. ครูควรส่งเสริมให้ผู้เรียนนำตนเอง และควบคุมตนเองในการเรียนรู้
4. ครูจำเป็นต้องเปลี่ยนบทบาทตนเองจากผู้ถ่ายทอดความรู้และควบคุมการเรียนรู้ไปเป็นผู้ช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้ ทำหน้าที่ช่วยสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน จัดเตรียมกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจและความต้องการของผู้เรียน ให้คำปรึกษาแนะนำทางด้านวิชาการและด้านสังคมให้ความช่วยเหลือผู้เรียนที่มีปัญหา และประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน
5. ครูควรประเมินผลในลักษณะที่เป็น goal free evaluation กล่าวคือ เป็นการประเมินตามจุดมุ่งหมายของผู้เรียนแต่ละคนและการวัดผลควรใช้วิธีการหลากหลายโดยอาศัยบริบทจริง เนื่องจากการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ขึ้นกับความสนใจและการสร้างความหมายที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล
แหล่งที่มา: http://www.edtechno.com
การนำไปใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน
1. ครูควรส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง
โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้อย่างตื่นตัว (active) กล่าวคือเป็นผู้ที่มิใช่เพียงรับข้อมูลความรู้เท่านั้น
แต่จะต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ
และสร้างความหมายของสิ่งนั้นด้วยตนเอง2. ครูควรสร้างบรรยากาศทางสังคมจริยธรรม (sociomoral) ให้เกิดขึ้นเนื่องจากปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเป็นปัจจัยสำคัญของการสร้างความรู้ การร่วมมือการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดและประสบการณ์ระหว่างผู้เรียนและบุคคลอื่นจะช่วยให้การเรียนรู้ของผู้เรียนกว้างขวางขึ้น
3. ครูควรส่งเสริมให้ผู้เรียนนำตนเอง และควบคุมตนเองในการเรียนรู้
4. ครูจำเป็นต้องเปลี่ยนบทบาทตนเองจากผู้ถ่ายทอดความรู้และควบคุมการเรียนรู้ไปเป็นผู้ช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้ ทำหน้าที่ช่วยสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน จัดเตรียมกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจและความต้องการของผู้เรียน ให้คำปรึกษาแนะนำทางด้านวิชาการและด้านสังคมให้ความช่วยเหลือผู้เรียนที่มีปัญหา และประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน
5. ครูควรประเมินผลในลักษณะที่เป็น goal free evaluation กล่าวคือ เป็นการประเมินตามจุดมุ่งหมายของผู้เรียนแต่ละคนและการวัดผลควรใช้วิธีการหลากหลายโดยอาศัยบริบทจริง เนื่องจากการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ขึ้นกับความสนใจและการสร้างความหมายที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล
แหล่งที่มา: http://www.edtechno.com
สรุปทฤษฎีเป็น Mind Mapping ตามความคิดของผม
วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
Topic# 2 งานวิจัยที่สนใจศึกษา
เรื่่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย สอนสำหรับปรับพื้นฐานความรู้ทาง ด้านคอมพิวเตอร์
เจ้าของวิจัย : นางนรารัตน์ วรรธนเศรณี
สาขาวิชา : เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระน ครเหนือ
ปีการศึกษา : 2550
สรุปปัญหาและ Mind Mapping
งานวิจัยที่สนใจศึกษา (ด้านสื่อ)
เรื่่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับปรับพื้นฐานความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์
เจ้าของวิจัย : นางนรารัตน์ วรรธนเศรณี
สาขาวิชา : เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ปีการศึกษา : 2550
งานวิจัยที่สนใจศึกษา (ด้านระบบ)
เรื่อง ระบบจัดการเอกสารเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา
เจ้าของวิจัย :นางสาวดวงพร สีสูงเนิน
สาขาวิชา :เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ปีการศึกษา : 2551
Topic# 1 Introduttion
ก่อนอื่นต้องขอแนะนำตัวเองก่อนครับ และขอน้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วยครับ “...การศึกษาเป็นเครื่องอันสำคัญในการพัฒนา ความรู้ ความคิด ความประพฤติ ทัศนคติ ค่านิยมและคุณธรรมของบุคคล
เพื่อให้เป็นพลเมืองดีมีคุณภาพและประสิทธิภาพ
เมื่อบ้านเมืองประกอบไปด้วยพลเมืองที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
การพัฒนาประเทศชาติก็ย่อมทำให้ได้โดยสะดวกราบรื่น ได้ผลที่แน่นอนและรวดเร็ว.. ”
พระราชดำรัส พระราชทานแก่ครูใหญ่ และนักเรียน ณ ศาลาดุสิดาลัย พระราชวังดุสิต ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๒๐
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)